ความยั่งยืนเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

ในโลกที่อุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ระบบอัตโนมัติเป็นจุดต่อระหว่างนวัตกรรมและความยั่งยืน เนื่องจากความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของการลด CO2 และแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืน กรอบการกำกับดูแลและแผนริเริ่มต่างๆ จึงได้รับการออกแบบใหม่เพื่อปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ในอีกสิบปีข้างหน้า แผนริเริ่มที่เป็นตัวกำหนดมาตรฐานสำคัญทั้ง 5 ประการจะกำหนดวิธีการดำเนินงาน นวัตกรรม และการแข่งขันของบริษัทด้านระบบอัตโนมัติ การเข้าใจแง่มุมทางกฎหมายเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ วิธีนี้ทำให้บริษัทต่างๆ ไม่เพียงแค่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในฐานะผู้บุกเบิกด้านความยั่งยืนได้อีกด้วย

1. โครงการริเริ่มเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative หรือ SBTi)

SBTi สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับข้อตกลงปารีส เป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยังรวมถึงการปล่อยก๊าซโดยตรงและโดยอ้อมด้วยเช่นกัน องค์กรต่างๆ สามารถกำหนดการปล่อยมลพิษโดยตรงเป็นรายกรณีได้ ในขณะที่เป้าหมายทางอ้อมจะขึ้นอยู่กับห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติที่มีแรงกดดันในการบูรณาการการลดการปล่อยมลพิษเหล่านี้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่างๆ จึงอาจต้องการซัพพลายเออร์ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของตนเอง วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงชื่อเสียงของแบรนด์และเสริมสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SBTi และเป้าหมาย

2. แผนปฏิรูปยุโรปสีเขียวของสหภาพยุโรป (European Green Deal)

แผนปฏิรูปยุโรปสีเขียวของสหภาพยุโรปเป็นการรวบรวมแผนริเริ่มของสหภาพยุโรปอย่างครอบคลุม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปจะมีความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศภายใน 2050 และการใช้ทรัพยากรจะถูกแยกออกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงมาตรการนโยบายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดระเบียบข้อบังคับเฉพาะด้วย เช่น CSRD และ CS3D สำหรับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ แผนปฏิรูปนั้นหมายความถึงการเปลี่ยนมาใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และการปฏิบัติตามมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน โอกาสในการระดมทุนก็กำลังเปิดกว้างขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ที่ลงทุนในนวัตกรรมสีเขียวจะสามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุนได้

3. คำสั่งรายงานความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Reporting Directive หรือ CSRD)

CSRD ขยายข้อกำหนดด้านการรายงานความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับองค์กรภายในสหภาพยุโรป เป้าหมายคือการทำให้รายงานความยั่งยืนมีมาตรฐานและสามารถเปรียบเทียบได้ รวมถึงเพื่อให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ผู้ซื้อต้องการหลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ด้านความยั่งยืนของซัพพลายเออร์เพิ่มมากขึ้น การดำเนินการดังกล่าวต้องใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่แข็งแกร่ง องค์กรที่เผยแพร่มาตรฐาน CSRD ในช่วงเริ่มต้นและปรับการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบอัตโนมัติิ จนถึงระดับภาคสนาม) จะสามารถรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านการรายงานที่โปร่งใส ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งในตลาดของตนได้ สามารถดูแนวทางและรายละเอียดเกี่ยวกับ CSRD ได้ที่นี่

4. คำสั่งด้านความยั่งยืนขององค์กรในสหภาพยุโรป (Corporate Sustainability Due Diligence Directive หรือ CS3D)

CS3D มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน องค์กรต่างๆ จะต้องตรวจสอบแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนของซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด ผู้ใดก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจะมีความเสี่ยงต่อความรับผิด ในขณะเดียวกัน CS3D ยังเปิดโอกาสทางธุรกิจที่เป็นไปได้อีกด้วย เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรฐานถือเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการเข้าถึงตลาดในยุโรป สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CS3D ได้ที่นี่

5. พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy Efficiency Act)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ากำหนดวิธีการใช้พลังงานไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าวทำให้มีการค้นหาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล, AI และ IoT ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดการพลังงานในอุตสาหกรรม ความต้องการโซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงกำลังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆ มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกัน ความต้องการบริการที่ช่วยให้สามารถดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานภาคบังคับก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

การเตรียมความพร้อมสู่อนาคตที่ยั่งยืน

กฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ที่เพิ่มขึ้นและแรงกดดันต่อห่วงโซ่คุณค่าจากเป้าหมายทางอ้อมเป็นสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ความยั่งยืนกำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจจัดซื้อระบบอัตโนมัติ องค์กรที่ดำเนินการอย่างจริงจังและลงทุนในเทคโนโลยีที่ยั่งยืนรุ่นถัดไปสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งทางการตลาดและคว้าโอกาสใหม่ๆ ได้ โอกาสดังกล่าวนั้นรวมถึงการประหยัดจำนวนมากผ่านการใช้พลังงานที่น้อยลงและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ง่ายขึ้น ซึ่งนำไปสู่การรายงานที่โปร่งใสมากขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องคำนวณถึงต้นทุนของการปฏิบัติตามกฎหมายด้านความยั่งยืนและการประหยัดจากการลดการใช้พลังงานด้วย

บทสรุป

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติมีโอกาสที่โดดเด่นในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืน ผู้ซื้อก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน โดยจะต้องเลือกพันธมิตรและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสนับสนุนและปฏิบัติตามมาตรฐานด้านการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ