ไม่ต้องกลัวหมอฟันอีกต่อไป

หุ่นยนต์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเพียโซ่

ไม่มีใครชอบไปหาหมอฟัน โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพื่อให้ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ในอนาคตรับมือกับเด็กระหว่างการรักษาทางทันตกรรมได้ง่ายขึ้น บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง tmsuk ได้พัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่จำลองพฤติกรรมของเด็กเล็กระหว่างการรักษาเหล่านี้ได้อย่างสมจริง รวมถึงการดิ้น สะดุ้ง หรือการที่เด็กไม่ยอมอ้าปาก การเคลื่อนไหวที่เหมือนจริงของหุ่นถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องปรับความดันตามสัดส่วนพร้อมเทคโนโลยีเพียโซ่

แทบจะไม่มีใครนึกถึงสิ่งนี้: ในการรักษาทางทันตกรรมหลายๆ ครั้ง เด็กเล็กจะได้รับอันตรายเนื่องจากความดันโลหิตลดลง ช็อก หรือหมดสติ ไปจนถึงสภาพร่างกายที่วิกฤตมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการฝึกอบรมทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการวิตกกังวลและความกลัวของเด็กเล็กในระหว่างการรักษาทางทันตกรรม การใช้หุ่นยนต์จำลองจึงสมเหตุสมผลกว่า เนื่องจากไม่สามารถใช้คนในการฝึกสอนทันตกรรมและศัลยศาสตร์ช่องปากได้

หุ่นยนต์ระบบนิวแมติก

บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น tmsuk ได้เปิดตัวหุ่นยนต์บริการมาหลายประเภทแล้ว เช่น หุ่นยนต์ขนส่งและหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหุ่นยนต์รุ่นคลาสสิกหลายตัวที่ติดตั้งแกนไฟฟ้าทุกตัว ขณะนี้บริษัทมุ่งเดินหน้าด้านการจำลองทางการแพทย์ด้วยหุ่นยนต์เพื่อการสอน ที่เรียกว่า Pedia_Roid หุ่นยนต์สำหรับจำลองเด็กเล็กที่กำลังเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม มีความสูง 110 ซม. และหนัก 23 กก. ซึ่งเทียบเท่ากับเด็กวัย 5 ขวบ

Pedia_Roid เป็นระบบนิวแมติก เนื่องจากบางครั้งนักเรียนและผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำเป็นต้องจับแขนขาของหุ่นจำลองหุ่นยนต์ในระหว่างการจำลองการรักษา ถ้าในกรณีที่เป็นไดรฟ์ไฟฟ้า อาจทำให้เฟืองและเพลาหมุนเสียหายได้ ในกรณีนี้ นิวแมติกมีความทนทานและยืดหยุ่นมากกว่าเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

การเคลื่อนไหวที่ราบรื่นด้วยเทคโนโลยีเพียโซ่

การเคลื่อนไหวที่ราบรื่นด้วยเทคโนโลยีเพียโซ่ การเคลื่อนไหวที่ราบรื่นเหมือนจริงเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีเพียโซ่เท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับเครื่องปรับความดันตามสัดส่วน VEAA และ VEAB จาก Festo ที่ใช้ในหุ่นยนต์ สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมกระบอกสูบนิวแมติก 24 ตัวของหุ่นยนต์เกือบทั้งหมด ซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนไหวแขนขาและนิ้ว เช่นเดียวกับปาก เปลือกตา และม่านตาที่เหมือนจริง ไม่มีเสียงรบกวนและใช้พลังงานต่ำ เครื่องปรับความดันตามสัดส่วนช่วยให้สามารถจำลองพฤติกรรมที่เหมือนมนุษย์ได้ ตรงกันข้ามกับโซลินอยด์วาล์วนิวแมติกแบบคลาสสิก วาล์วเหล่านี้จะไม่ส่งเสียงคลิกใดๆ เมื่อเปิดปิดสวิตช์ เนื่องจากทรานสดิวเซอร์แบบเพียโซ่เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระและไม่มีเสียงรบกวนใดๆ

ยูซุเกะ อิชิ ผู้อำนวยการของ tmsuk อธิบายว่า "หากไม่มีเทคโนโลยีเพียโซ่จาก Festo ที่ใช้ในเครื่องปรับความดันตามสัดส่วน เราคงไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวนี้ได้" เครื่องปรับความดันตามสัดส่วน VEAA/VEAB มีวาล์ว 3/3 ทางพร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงดันและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เมื่อเปรียบเทียบกับโซลินอยด์วาล์วแล้ว วาล์วปรับตามสัดส่วนที่มีเทคโนโลยีเพียโซ่แทบไม่ต้องใช้พลังงานเพื่อรักษาสถานะทำงานด้วยหลักการค่าความจุไฟฟ้าที่ได้จากการคำนวณ เพียโซ่วาล์วทำงานเหมือนตัวเก็บประจุ: จะใช้ไฟฟ้า เมื่อเริ่มชาร์จเซรามิกเพียโซ่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มเติมเพื่อรักษาสถานะภาพ เป็นผลให้วาล์วไม่ร้อนขึ้นเช่นกัน เพียโซ่วาล์วใช้พลังงานน้อยกว่าโซลินอยด์วาล์วถึง 95% ซึ่งต้องใช้กระแสไฟฟ้าอย่างถาวร

อายุการใช้งานยาวนาน ใช้พื้นที่น้อย

เป็นผลมาจากการออกแบบของเครื่องปรับความดันตามสัดส่วน VEAA/VEAB จึงทำให้ทนทานต่อการสึกหรอและมีจำนวนรอบสูง VEAA และ VEAB มอบประโยชน์มหาศาลสำหรับการใช้งานในการควบคุมแรงดันที่มีการใช้อากาศในกระบอกสูบต่ำถึงต่ำมาก เช่นเดียวกับการใช้งานที่ต้องการไดนามิกสูง เช่น หุ่นยนต์ Pedia_Roid การออกแบบที่กะทัดรัดของวาล์วปรับตามสัดส่วนเหล่านี้รวมการติดตั้งที่ประหยัดพื้นที่เข้ากับน้ำหนักที่เบา

หุ่นยนต์สำหรับสอนวิชาทันตกรรม 50 ตัวแรกของโลกกำลังอยู่ในการวางแผนการผลิตก่อนนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ภูมิภาคอื่นๆ ของโลกกำลังจะตามมา

เกี่ยวกับ tmsuk:

บริษัท tmsuk จำกัดของสัญชาติญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายให้ตนเองที่จะพัฒนาหุ่นยนต์บริการเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์และพื้นที่ภัยพิบัติ บริษัทตั้งอยู่บนเกาะคิวชูซึ่งอยู่ทางใต้สุดของเกาะหลัก 4 เกาะของญี่ปุ่น บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2543 มีพนักงาน 24 คนและสาขาย่อยในไต้หวัน

www.tmsuk.co.jp

บทความที่น่าสนใจ

พฤศจิกายน 2563

ภาพรวม