แบบจำลองสำหรับกริปเปอร์คือระบบคิเนเมติกส์ที่ซับซ้อนของจะงอยปากนก เมื่อนำไปใช้กับเทคโนโลยีแล้ว หลักการไบโอนิคจะเรียกว่าห่วงโซ่ของ Watt ซึ่งใช้ใน PowerGripper โดยใช้กล้ามเนื้อฟลูอิดิกส์ประเภท DMSP-5 สองตัว
ด้วยการใช้ตัวเชื่อมของ Watt มีระยะการเปฺิดที่กว่างสามารถทำได้ในพื้นที่การติดตั้งที่กะทัดรัดมาก เนื่องจากโครงสร้างน้ำหนักเบาที่ใช้ DMSP กล้ามเนื้อนิวเมติก น้ำหนักเบามาก และโลหะผสมไททาเนียมเป็นวัสดุสำหรับส่วนประกอบพื้นฐาน กริปเปอร์จึงมีอัตราส่วนระหว่างแรงต่อน้ำหนักที่ดีมาก.
โครงสร้างน้ำหนักเบาทั้งด้านในและด้านนอกของกริปเปอร์ได้รับการออกแบบตามทิศทางการไหลของแรงบนส่วนประกอบ รวมถึงสามารถผลิตได้ในรูปแบบนี้โดยใช้กระบวนการหลอมด้วยเลเซอร์ (Selective Laser Melting) เท่านั้น โดยแสงเลเซอร์ละลายผงโลหะในแต่ละชั้น และส่งผลให้มีตัวเลือกการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับการค้นหารูปแบบและการพิมพ์ 3 มิติของผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน
PowerGripper เป็นโครงการของมหาวิทยาลัยภายใน Bionic Learning Network เราตรวจสอบการถ่ายทอดหลักการทางชีววิทยาสู่เทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการศึกษา สถาบัน และบริษัทพัฒนาที่มีชื่อเสียง เพื่อผลิตแนวทางหรือวิธีการใหม่ๆ สำหรับการปฏิบัติทางอุตสาหกรรม
แนวคิด PowerGripper มีพื้นฐานมาจากการบรรยายโดย Prof. Dr. Martin Fischer ศาสตราจารย์สาขาสัตววิทยาพิเศษและชีววิทยาวิวัฒนาการที่ Friedrich Schiller University Jena ในการบรรยายในหัวข้อระบบจับยึดทางชีววิทยา เขาได้กล่าวถึงระบบคิเนเมติกส์ที่ซับซ้อนของจะงอยปากของนก ซึ่ง Dr. Cornelius Schilling และ Dr. Klaus Zimmermann ที่ Technical University of Ilmenau อธิบายไว้ในปี 1994